[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
แผนกวิชา
งานบัญชี GFMIS
ระบบบริหารจัดการ Rms
ระบบบริหารจัดการสถานศึกษา
งานทะเบียน
เฟสบุคงานทะเบียน
สถานศึกษาใน อศจ.บุรีรัมย์
งานเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์
งานประกันคุณภาพ
'งานประกันคุณภาพ
นักเรียน นักศึกษา
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 379 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 1 คน
ศูนย์ดำรงธรรม
  
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ สังคม  
 

 

 

สภาพชุมชน
คำขวัญอำเภอสตึก   “ พระพุทธรูปสูงใหญ่ หาดทรายชวนฝัน แข่งขันเรือยาว เจ้าพ่อศักดิ์สิทธิ์ พาณิชย์สนามบิน”
อาณาเขต   มีพื้นที่  803 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 501,875 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดบุรีรัมย์  ห่างจากตัวเมืองประมาณ  41  กิโลเมตร  ตามถนนทางหลวงหมายเลข  219  โดยมีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ   ติดเขตอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ มีแม่น้ำมูลเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้    ติดเขตอำเภอกระสัง อำเภอห้วยราช กิ่งอำเภอบ้านด่าน มีลำตะโคงเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก   ติดเขตอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ มีลำน้ำชีเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก    ติดเขตกิ่งอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ มีลำตะโคงเป็นเส้นแบ่งเขต

พระพุทธรูปปฎิมาสันตยาภิรมย์สตึกอุดมราษฎรนิมิตมนิน


สภาพเศรษฐกิจ
       เศรษฐกิจ  ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  เช่น  ปลูกข้าว โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ  ทำไร่มันสำปะหลัง  ไร่อ้อย  ไร่ข้าวโพด  สวนยางพารา  สวนยูคาลิปตัส ทำนา  นอกจากนั้นก็มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น  โค  กระบือ  หมู  เป็ด  ไก่  และช้าง  ซึ่งปัจจุบันผู้เลี้ยงช้างโดยฝึกหัดช้างเพื่อการแสดงแล้วจะส่งไปแสดงตามสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย เช่น  พัทยา  บางแสน  ภูเก็ต  กาญจนบุรี รองลงมา  คือ  อุตสาหกรรมการค้าและทอผ้าไหม  งานหัตถกรรมพื้นบ้าน  สินค้า  OTOP  เช่น  สานเครื่องใช้ จากไม้ไผ่ สานรองเท้าด้วยผักตบชวา  เป็นต้น  ประชากรอำเภอสตึกมีรายได้เฉลี่ย  24,908   บาท/คน/ปี  (สำนักงานพัฒนาชุมชน : 2547)
สังคมและการเมือง  ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอีสานเชื้อสาย ไทย ลาว เขมร ส่วย โดยมีภาษาท้องถิ่น  คือ  ภาษาไทยอีสาน เขมร ส่วยและไทยโคราช นับถือศาสนาพุทธ 99.90 % มีประชากร 110,011  คน เป็นชาย 55,190 คน หญิง 55,679 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2547) มีวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญ ดังนี้

  1.   งานประเพณีแข่งเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ประจำปี ณ แม่น้ำมูลหน้าที่ว่าการอำเภอสตึก
  2.  งานฉลองเจ้าพ่อวังกรูด ซึ่งจัดงานวันที่ 1-5 เมษายน ของทุกๆ ปี
  3.  งานงิ้วอำเภอสตึก ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายนของทุกๆ ปี
  4.  ประเพณีอื่น ๆ  เหมือนไทยอีสานทั่วไป

ประเพณีแข่งเรือ


การเมืองการปกครอง
ในเขตอำเภอสตึก แบ่งออกเป็น 12 ตำบล 179 หมู่บ้าน ดังต่อไปนี้
  1.  ตำบลสตึก            15     หมู่บ้าน
  2. ตำบลนิคม             24     หมู่บ้าน
  3. ตำบลดอนมนต์      10     หมู่บ้าน
  4. ตำบลสะแก           13     หมู่บ้าน
  5. ตำบลเมืองแก        19     หมู่บ้าน
  6.  ตำบลทุ่งวัง          15     หมู่บ้าน
  7. ตำบลท่าม่วง         11     หมู่บ้าน
  8. ตำบลชุมแสง        18     หมู่บ้าน
  9.  ตำบลหนองใหญ่  16      หมู่บ้าน
  10. ตำบลสนามชัย    12     หมู่บ้าน
  11. ตำบลกระสัง        8       หมู่บ้าน
  12. ตำบลร่อนทอง   18      หมู่บ้าน

แผนที่ อำเภอสตึก

การปกครองท้องถิ่น
ในเขตอำเภอสตึกแบ่งการปกครองออกเป็น 12   ตำบล   1  เทศบาล
  1)  เทศบาลตำบลสตึก
  2) องค์การบริการส่วนตำบล 12  แห่ง
   2.1   องค์การบริหารส่วนตำบลสตึก
   2.2  องค์การบริหารส่วนตำบลนิคม
   2.3  องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมนต์
   2.4  องค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทอง
   2.5  องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองแก
   2.6   องค์การบริหารส่วนตำบลสะแก
   2.7  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองใหญ่
   2.8  องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสง
   2.9   องค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย
              2.10   องค์การบริหารส่วนตำบลกระสัง
              2.11   องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งวัง
              2.12  องค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง


ถ้วยพระราชทาน

แข่งเรือ

ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี
ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ  99.50 % อีก  0.50 % นับถือศาสนาคริสต์และอิสลาม  ในพื้นที่อำเภอสตึก มีวัดทั้งสิ้น จำนวน 52  แห่ง ศาลเจ้า 1  แห่ง ดังนี้
  -  ได้รับวิสุงคามสีมา จำนวน      25    แห่ง
  -  ไม่ได้รับวิสุงคามสีมา จำนวน  27    แห่ง
  -  ศาลเจ้าพ่อวังกรูด จำนวน        1    แห่ง
ศิลปวัฒนธรรม
  ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของอำเภอสตึก ได้แก่ การละเล่นดนตรีพื้นบ้าน เช่น กันตรึม  อำเภอสตึกมีองค์กรเครือข่ายในพื้นที่  จำนวน 14 แห่ง  ดังนี้
  -  สภาวัฒนธรรมอำเภอ      1  แห่ง
  -  สภาวัฒนธรรมตำบล     12  แห่ง
  -  ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอ      1  แห่ง
ขนบธรรมเนียมประเพณี
งานประเพณีที่สำคัญ  ได้แก่
  - งานประเพณีแข่งเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานฯ ประจำปี ณ บริเวณลำน้ำมูล
  -  งานประเพณีบุญบั้งไฟ
  -  งานประเพณีแห่เทียนพรรษา
  -  งานเทศกาลสงกรานต์
  -  งานเทศกาลลอยกระทง


การสาธารณสุข
  -  โรงพยาบาล (ขนาด 60 เตียง)  จำนวน   1    แห่ง
  -  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ    จำนวน    1    แห่ง
  -  สถานีอนามัย                          จำนวน   12   แห่ง
  -  คลีนิก                                   จำนวน    4    แห่ง
  -  ร้านขายยาแผนปัจจุบัน            จำนวน   9    แห่ง

แสดงช้างแสดงช้าง

ช้างว่ายน้ำ